หน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย

    ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง  (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 ตามราย ละเอียดดังต่อไปนี้

        1. หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ตามมาตรา 67 ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้

                1.1  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

                1.2  รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ และทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล            

                1.3  ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

                1.4  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                1.5  ส่งเสริมการศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

                1.6  ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

                1.7  คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                1.8  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                1.9  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

        2.  อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 68 ซึ่งมีหน้าที่อาจจัดทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้

                2.1  ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร

                2.2  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

                2.3  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

                2.4  ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

                2.5  ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรและกิจการสหกรณ์

                2.6  ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

                2.7  บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร

                2.8  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

                2.9  หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

                2.10 ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม

                2.11 กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

                2.12 การท่องเที่ยว

                2.13 การผังเมือง

         3. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวดที่ 2 มาตรา 16

         มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชน ใท้องถิ่นตนเอง ดังนี้

                3.1  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

                3.2  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ และทางระบายน้ำ 

                3.3  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ 

                3.4  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ 

                3.5  การสาธารณูปการ 

                3.6  การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 

                3.7  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน 

                3.8  การส่งเสริมการท่องเที่ยว 

                3.9  การจัดการศึกษา 

                3.10 การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 

                3.11 การบำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 

                3.12 การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 

                3.13 การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 

                3.14 การส่งเสริมกีฬา 

                3.15 การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 

                3.16 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 

                3.17 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

                3.18 การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

                3.19 การสาธารณะสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 

                3.20 การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน 

                3.21 การควบคุมสัตว์เลี้ยง 

                3.22 การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 

                3.23 การรักษาความปลอดภัย

                3.24 การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่า 

                3.25 การผังเมือง 

                3.26 การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร 

                3.27 การดูแลรักษาที่สาธารณะ 

                3.28 การควบคุมอาคาร 

                3.29 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

                3.30 การรักษาความสงบเรียบร้อย 

                3.31 กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด        

        4. อำนาจหน้าที่และพันธกิจที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล 

                4.1 แก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม 

                4.2 ต้องพัฒนาทุนทางสังคมมีความแข็งแรงและยั่งยืน 

                4.3 ต้องเพิ่มสมรรถนะให้ประเทศไทย พร้อมสำหรับการแข่งขัน 

                4.4 การพัฒนาที่ยั่งยืน   

 

สำนักปลัด

      ให้มีหัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชา  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ

งานวางแผนอัตรากำลัง  งานกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน  งานบรรจุแต่งตั้งการเลื่อนระดับ  งานโอน ย้าย  งานทะเบียนประวัติและบัตร  งานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร 

งานประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาความดีความชอบ งานดำเนินการทางวินัย งานเกี่ยวกับการออกจากราชการ งานเสนอของเครื่องราชอิสริยาภรณ์  และประกาศเกียรติคุณ  

งานธุรการงานสารบรรณกลาง  งานรัฐพิธี  พิธีการต่างๆ งานประชาสัมพันธ์หน่วยงาน  งานรับรอง  งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยสถานที่ราชการ  งานด้านนิติการและ

ดำเนินคดี  งานเกี่ยวกับตราข้อบัญญัติ ระเบียบของหน่วยงาน งานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารงานเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์  งานเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและ

ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542  งานสาธารณสุข งานเกี่ยวกับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานเกี่ยวกับการประชุมกรรมการ

ต่างๆ งานสิทธิสวัสดิการทะเบียนประวัติ  การพัฒนาอบรมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  งานส่งเสริมประชาธิปไตย  งานเลือกตั้ง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล งานจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล งานจัดทำระบบข้อมูล  งานจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณ

รายจ่ายประจำปี  งานเกี่ยวกับโครงการเงินอุดหนุนต่างๆราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด  งานอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

กองคลัง

      ให้มีผู้อำนวยการกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบล  เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองคลังองค์การบริหารส่วนตำบล  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ

งานเบิกจ่าย  รับ  นำส่ง  เก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน  งานเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารการเบิกและอนุมัติฏีกา  งานเกี่ยวกับเงินเดือน  ค่าจ้าง  ค่าตอบแทนและเงินอื่นๆ

งานคำขอเบิกเงิน  สวัสดิการต่างๆ  งานจัดทำบัญชี  งานทะเบียนคุมรายได้  รายจ่ายทุกประเภทและจัดทำทะเบียนคุมเงิน  งานจัดทำงบทดลอง  งบแสดงฐานะทางการเงิน

งบทรัพย์สิน  งบหนี้สิน  เจ้าหนี้  และเงินสะสมประจำเดือน  ประจำปี  งานจัดข้อมูลสถิติการคลัง  งานควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ  งานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง จัดหาพัสดุ 

งานเกี่ยวกับซ่อมแซม บำรุงรักษาพัสดุ งานจำหน่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ หรือทรัพย์สิน  งานการควบคุมรับ-จ่ายพัสดุ  งานตรวจสอบการรับ  จ่ายพัสดุประจำปี  งานเกี่ยวกับทรัพย์สิน  

งานจัดเก็บภาษี  งานอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

กองช่าง

      ให้มีผู้อำนวยการกองช่างองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนโยธาองค์การบริหารส่วนตำบล   มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ  

งานสำรวจและจัดทำโครงการ  งานออกแบบและเขียนแบบ  งานตรวจสอบการก่อสร้าง  งานรวบรวมจัดเก็บประวัติโครงการต่างๆ งานการควบคุมอาคาร  งานจัดทำแผนที่และ

แผนผังต่างๆ  งานประมาณโครงการต่างๆ  งานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลงานของส่วนโยธา  งานกำหนดราคากลางของวัสดุและงานต่างๆ ของท้องถิ่น  งานวางแผน

การปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมแซมบำรุงงานควบคุมการก่อสร้าง  งานคุมการซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุและทรัพย์สิน  งานเกี่ยวกับการสาธารณูปโภค  งานเกี่ยวกับการป้องกัน

และบรรเทาสาธารณภัย  งานระบายน้ำ  งานสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย